โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

พุดผา

ชื่อสามัญ
พุดผา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gardenia saxatilis Geddes
ชื่อวงศ์
Rubiaceae
ชื่ออื่น ๆ
ข่อย (สน), มือเสือ (สระบุรี), ข่อยหิน, พุดผา, สามพันตา (อุบลราชธานี), ปัดหิน, ข่อยโคก, ข่อยด่าน
สถานภาพ
พืชหายาก
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น สูง 2-4 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับฉาก รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ปลายใบโค้งกลม แผ่นใบมีขน ผิวใบสากมือ หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเป็นมัน ดอกเดี่ยว สมบูรณ์เพศ ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย กลิ่นหอม ก้านดอก และกลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ มีขนสีขาว เกสรเพศผู้มี 6 อัน ฐานติดอยู่ด้านในของกลีบดอก เป็นแผ่นเรียว เกสรเพศเมีย รังไข่มี 2 ห้อง ผลสด รูปไข่กลับ เมื่อสุกสีส้ม เมล็ดเดียว หุ้มด้วยเยื่อสีส้ม พบตามลานหินในป่าเต็งรัง ออกดอกราวเดือนเมษายน จัดเป็นพืชหายาก
ลักษณะดอก
ดอกเดี่ยว สมบูรณ์เพศ ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย กลิ่นหอม ก้านดอกและกลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ มีขนสีขาว
ลักษณะใบ
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับฉาก รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ปลายใบโค้งกลม แผ่นใบมีขน ผิวใบสากมือ หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเป็นมัน
ลักษณะผล
ผลสด รูปไข่กลับ เมื่อสุกสีส้ม เมล็ดเดียว หุ้มด้วยเยื่อสีส้ม
ขนาด
ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร
พฤติกรรม
ออกดอกราวเดือนเมษายน
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ขึ้นบนลานหินในป่าเต็งรัง ในป่าหินปูน
การกระจายพันธุ์
พบในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
ที่มาของเรื่องและภาพ
พุดผา http://www.phargarden.com สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567
พุดผา https://th.wikipedia.org สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567
พุดผา http://www.rspg.or.th/plants สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่