โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

แคสันติสุข

ชื่อสามัญ
แคสันติสุข
ชื่อวิทยาศาสตร์
Santisukia kerrii (Barnett & Sandwith) Brummit
ชื่อวงศ์
Bignoniaceae
ชื่ออื่น ๆ
แคผู้
สถานภาพ
พืชถิ่นเดียว และพืชหายากที่ใกล้สูญพันธุ์
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
อยู่ในวงศ์ Bignoniaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ แตกกิ่งต่ำระเกะระกะ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเป็นวงรอบกิ่ง วงละ 4 ช่อใบ ใบย่อย 4-7 คู่ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ขอบใบจักมนหรือเกือบเรียบ ดอกใหญ่ ออกเป็นช่อแตกแขนงตามปลายกิ่ง กลีบดอกติดกันคล้ายรูประฆังสีขาวอมชมพู ปลายกลีบหยักเว้าและย่น ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก โคนและปลายแหลม ตามผนังมีตุ่มเล็กๆ หนาแน่น แห้งแล้วแตก เมล็ดแบนและมีปีกบาง ๆ ออกดอกเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์
ลักษณะดอก
ดอกใหญ่ ออกเป็นช่อแตกแขนงตามปลายกิ่ง กลีบดอกติดกันคล้ายรูประฆัง ขอบกลีบย่นมาก
ลักษณะใบ
ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเป็นวงรอบกิ่ง วงละ 4 ช่อใบ ใบย่อย 4-7 คู่ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ขอบใบจักมนหรือเกือบเรียบ
ลักษณะผล
ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก โคนและปลายแหลม ตามผนังมีตุ่มเล็กๆ หนาแน่น เมื่อแห้งแตกเป็น 2 ซีก
ขนาด
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 15 เมตร
พฤติกรรม
ออกดอกและผลระหว่างเดือน มกราคม - มีนาคม
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ชอบขึ้นกระจายห่าง ๆ บนภูเขาหินปูนเตี้ย ๆ ที่แห้งแล้งในป่าเบญจพรรณ หรือป่าละเมาะโปร่ง ระดับความสูง 50-400 เมตร
การกระจายพันธุ์
พบเฉพาะในภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัดนครสวรรค์ ที่วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทองอำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์พบเป็นจำนวนมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น สำรวจพบเพิ่มเติมที่จังหวัดเลย และภาคกลางที่จังหวัดสระบุรี
หมายเหตุ
พบครั้งแรกที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 โดยหมอคาร์ ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ ส่วนชื่อสกุลตั้งเป็นเกียรติแก่ ศ.ดร. ธวัชชัย สันติสุข
ที่มาของเรื่องและภาพ
แคสันติสุข https://th.wikipedia.org สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567
แคสันติสุข http://www.rspg.or.th/plants สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่