โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

กะเรกะร่อน

ชื่อสามัญ
กะเรกะร่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cymbidium aloifolium (L.) Sw.
ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น ๆ
เอื้องปากเป็ด (เชียงใหม่), เอื้องด้ามข้าว (ลำปาง), กล้วยหางไหล (ชุมพร), กาเรการ่อน (ภาคกลาง)
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
ช่อดอกแบบกระจะ ออกที่ข้างลำและห้อยลง มี 12–25 ดอก ดอกกว้าง 3 เซนติเมตร สีแดง กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน กลีบดอกสั้นกว่า ปลายกลีบแหลมกว่า ขอบกลีบสีเหลือง กลีบปากมีหูรูปสามเหลี่ยมตั้งขึ้น โคนกลีบมีสันสองสัน
ลักษณะดอก
ดอกกว้าง 3 เซนติเมตร สีแดง กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน กลีบดอกสั้นกว่า ปลายกลีบแหลมกว่า ขอบกลีบสีเหลือง กลีบปากมีหูรูปสามเหลี่ยมตั้งขึ้น โคนกลีบมีสันสองสัน
ลักษณะใบ
ใบรูปขอบขนาน 3–4 ใบ ใบหนาและแข็ง ปลายใบมน ต้นมีรากออกเป็นเส้นแข็งชี้ขึ้นไปในอากาศ
ลักษณะผล
ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก เป็นพู 5 พู ผิวผลเรียบ ยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียวอมสีเหลือง เมื่อผลแห้งจะแตกได้ ในผลมีเมล็ดเป็นผงละเอียดจำนวนมาก
ขนาด
ลำต้นมีขนาดสั้น ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปรี เกาะรวมกันเป็นกระจุกแน่น ลำต้นเป็นหัวรูปรี มีหลายข้อ และขึ้นชิดกันเป็นกอ ๆ
พฤติกรรม
ออกดอกเป็นช่อสายห้อยลง โดยจะออกที่โคนต้น มีช่อดอกประมาณ 1-2 ช่อ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ในช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก (ประมาณ 17-26 ดอก) ดอกมีขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร กลีบดอกสั้นสีเหลืองมีลักษณะเป็นรูปแถบ มีแถบสีม่วงหรือสีน้ำตาลอมแดงขอบขาว
ถิ่นที่อยู่อาศัย
พบได้ตามป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบ บ้างว่าพบได้ตามป่าเต็งรัง ตามที่โล่งแจ้งมีแสงแดดจัด ในระดับหลายความสูง
การกระจายพันธุ์
มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มาของเรื่องและภาพ
กะเรกะร่อน https://medthai.com สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่