โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

นางอั้วน้อย

ชื่อสามัญ
นางอั้วน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Habenaria dentata (Sw.) Schltr.
ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น ๆ
เอื้องข้าวตอก, ว่านข้าวเหนียว, เอื้องดิน, ดอกไม้ดิน, ตะบันเดรก
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
นางอั้วน้อย เป็นกล้วยไม้ดินที่มีหัวใต้ดินรูปทรงกระบอก ลำต้นเหนือดินสูง 20-30 เซนติเมตร ใบรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 12 เซนติเมตร ออกแน่นใกล้โคนต้น ใบหนา อวบน้ำ ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวนวล โคนกลีบปากคอดเว้า กลีบปากแยกเป็น 3 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 เซนติเมตร ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอดลักษณะเป็นพุ่ม ยอดแหลม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว ดอกเป็นช่อค่อนข้างแน่นที่ปลายช่อ ชอบพื้นที่ร่มในป่าดิบชื้น ออกดอกช่วงสิงหาคมถึงตุลาคม ถิ่นกำเนิดในป่าโคก ป่าเต็งรัง - ป่าเบญจพรรณ พืชสะสมอาหารที่ราก เป็นกล้วยไม้ท้องถิ่นที่พบในเทือกเขาหิมาลัย จีน อินเดีย อินโดจีน ไทย และ พม่า
ลักษณะดอก
ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวนวล โคนกลีบปากคอดเว้า กลีบปากแยกเป็น 3 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 เซนติเมตร ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอดลักษณะเป็นพุ่ม ยอดแหลม
ลักษณะใบ
ใบรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 12 เซนติเมตร ออกแน่นใกล้โคนต้น ใบหนา อวบน้ำ
ลักษณะผล
หลังจากดอกบานและแมลงผสมเกสรแล้ว จะติดเมล็ดและลำต้นจะแห้ง ปล่อยให้เมล็ดร่วงตามแรงของลมในเดือนธันวาคม
ขนาด
ลำต้นเหนือดินสูง 20-30 เซนติเมตร ใบกว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 12 เซนติเมตร ดอกกว้าง 2 เซนติเมตร
พฤติกรรม
มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในตอนเย็น ออกดอกในช่วงสิงหาคมถึงตุลาคม
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ชอบพื้นที่ร่มในป่าดิบชื้น พบในป่าโคก ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ
การกระจายพันธุ์
ถิ่นกำเนิดในเทือกเขาหิมาลัย จีน อินเดีย อินโดจีน ไทย และพม่า
ที่มาของเรื่องและภาพ
นางอั้วน้อย https://www.dailynews.co.th/news สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
นางอั้วน้อย https://www.facebook.com/profile.php สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
นางอั้วน้อย https://www.facebook.com/KenNeo2017 สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่