โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

ลิ้นมังกร

ชื่อสามัญ
ลิ้นมังกร
ชื่อวิทยาศาสตร์
Habenaria rhodocheila Hance
ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น ๆ
ปัดแดง, สังหิน
สถานภาพ
หายาก
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
ลิ้นมังกรเป็นกล้วยไม้ดิน ลำต้นเป็นหัว รูปขอบขนาน ใบรูปแถบจนถึงรูปแถบแกมหอก ขนาด 2 x 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมจนถึงเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อ ดอกขนาด 0.8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงบนรูปรีและเป็นอุ้งคล้ายหมวก กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปขอบขนาน เมื่อบานเต็มที่บิดม้วนไปทางด้านหลัง กลีบดอกเชื่อมกับกลีบเลี้ยงบน ทั้งห้ากลีบมีสีเขียว ปลายกลบมน กลีบปากสีแดง สีชมพู สีเหลืองจนถึงสีส้ม กลีบเป็นสามแฉก แฉกข้างรูปทรงกลม ฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูกาลเดียวที่เรามักจะพบ ลิ้นมังกร หรือ ปัดแดง บานสะพรั่งอยู่ตามบริเวณโขดหินใกล้ น้ำตก ด้วยเสน่ห์ของสีสันอันหลากสี ทั้งสีเหลือง สีส้ม สีแดง สีชมพู ไปจนกระทั่งสีโทนอ่อนเกือบจะเป็นสีขาว ในฤดูแล้ง ลิ้นมังกร จะพักหัวของมันและคอยกักเก็บตุนสารอาหารไว้จนกระทั่งถึงฤดูกาลให้ดอกอีกครั้งในฤดูฝนต่อไป
ลักษณะดอก
ออกดอกเป็นช่อ ดอกขนาด 0.8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงบนรูปรีและเป็นอุ้งคล้ายหมวก กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปขอบขนาน กลีบปากสีแดง สีชมพู สีเหลืองจนถึงสีส้ม กลีบเป็นสามแฉก แฉกข้างรูปทรงกลม
ลักษณะใบ
ใบรูปแถบจนถึงรูปแถบแกมหอก ขนาด 2 x 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมจนถึงเรียวแหลม
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ป่าเบญจพรรณ, ป่าเต็งรัง, ป่าดิบแล้ง, ป่าดิบเขา, ซอกหินหรือโขดหินที่มีมอสปกคลุมและมีแสงแดดรำไร
การกระจายพันธุ์
ป่าในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
ที่มาของเรื่องและภาพ
ลิ้นมังกร https://www.facebook.com/KenNeo2017 สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ลิ้นมังกร https://highland_plant.hrdi.or.th สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่