โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

ว่านจูงนาง

ชื่อสามัญ
ว่านจูงนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Geodorum recurvum (Roxb.) Alston
ชื่อวงศ์
Orchidaceae
ชื่ออื่น ๆ
กำปองดิน, ว่านถอนพิษ, อึ่งเปราะ
สถานภาพ
หายาก
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
กล้วยไม้ดิน สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นใต้ดินทรงรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม เป็นหัวรูปกลมแป้นเรียงต่อกันเป็นแถว เห็นข้อปล้องชัดเจน รากออกตามข้อ เส้นผ่านศูนย์กลางถึง 2.7 เซนติเมตร เป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก แผ่นใบพับจีบ เนื้อใบหนา จำนวน 2-3 ใบ เจริญไม่เต็มที่ในช่วงที่ออกดอก แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ ถึงรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ช่อดอกออกจากเหง้าที่โคนหัวใต้ดิน เกิดก่อนหรือพร้อมกับผลิใบ ช่อยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ดอกสีขาว กลีบปากสีเหลือง โคนสีน้ำตาลแดง แบบช่อกระจะ มักยาวกว่าลำต้น จำนวน 2-5 ดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร สีเขียวถึงสีเหลืองแกมเขียว กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ ถึงรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กลีบปากรูปไข่ ปลายกลีบคอดกิ่วเล็กน้อย ปลายกลีบปากยาวตรงจนถึงม้วนงอ กลางกลีบปากมีต่อขรุขระ
ลักษณะดอก
ดอกสีขาว กลีบปากสีเหลือง โคนสีน้ำตาลแดง ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร สีเขียวถึงสีเหลืองแกมเขียว กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ ถึงรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กลีบปากรูปไข่ ปลายกลีบคอดกิ่วเล็กน้อย ปลายกลีบปากยาวตรงจนถึงม้วนงอ กลางกลีบปากมีต่อขรุขระ
ลักษณะใบ
ใบเดี่ยว รูปใบหอก แผ่นใบพับจีบ เนื้อใบหนา จำนวน 2-3 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ ถึงรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบแล้ง, ป่าดิบเขา
การกระจายพันธุ์
พบตามป่าในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
ที่มาของเรื่องและภาพ
ว่านจูงนาง https://highland_plant.hrdi.or.th สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ว่านจูงนาง https://www.dailynews.co.th สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ว่านจูงนาง https://www.facebook.com/SiamThaiPerfume สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่