โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

เอื้องหนวดพราหมณ์

ชื่อสามัญ
เอื้องหนวดพราหมณ์
ชื่อวิทยาศาสตร์
Seidenfadenia mitrata (Rchb.f.) Garay.
ชื่อวงศ์
Orchidaceae
ชื่ออื่น ๆ
เอื้องกุหลาบสระบุรี, เอื้องผมเงือก, เอื้องผมผีพราย(กทม.)
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
หนวดพราหมณ์ เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยลำต้นยาว 3-5 เซนติเมตร รากจำนวนมากออกที่โคนต้น ลักษณะอวบยาวใบจำนวน 3-5 ใบ รูปทรงกระบอกยาวสีเขียวเข้ม ปลายเรียวแหลมเส้นผ่านศูนย์กลางส่วนกว้างสุดประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 10-40 เซนติเมตร ใบของหนวดพราหมณ์ห้อยลู่ลงด้านบนเป็นร่องตามยาว ออกดอกเป็นช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบช่อตั้งขึ้นก้านช่อยาว 13-20 เซนติเมตร ดอกของหนวดพราหมณ์เรียงค่อนข้างแน่น มีกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีขาว ปลายกลีบสีม่วง รูปรีแกมรูปขอบขนาน กลีบดอกสีขาว ขอบกลีบอาจมีสีม่วงรูปรีแกมรูปไข่กลับ กลีบปากสีม่วงแกมแดง กลางกลีบสีจางกว่า กลีบรูปรีแกมรูปไข่ ปลายกลีบเว้าตื้น โคนกลีบแต่ละข้างมีติ่งขนาดเล็ก ฝาปิดกลุ่มเรณูสีม่วงเข้ม หนวดพราหมณ์ให้ดอกช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม ดอกของหนวดพราหมณ์มีกลิ่นหอม หากปลูกเป็นกอจะส่งกลิ่นหอมโชยพัดตามลมชื่นใจมาก
ลักษณะดอก
ออกดอกเป็นช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบช่อตั้งขึ้นก้านช่อยาว 13-20 เซนติเมตร ดอกของหนวดพราหมณ์เรียงค่อนข้างแน่น มีกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีขาว ปลายกลีบสีม่วง รูปรีแกมรูปขอบขนาน กลีบดอกสีขาว ขอบกลีบอาจมีสีม่วงรูปรีแกมรูปไข่กลับ กลีบปากสีม่วงแกมแดง กลางกลีบสีจางกว่า กลีบรูปรีแกมรูปไข่ ปลายกลีบเว้าตื้น โคนกลีบแต่ละข้างมีติ่งขนาดเล็ก ฝาปิดกลุ่มเรณูสีม่วงเข้ม หนวดพราหมณ์ให้ดอกช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม ดอกของหนวดพราหมณ์มีกลิ่นหอม หากปลูกเป็นกอจะส่งกลิ่นหอมโชยพัดตามลมชื่นใจมาก
ลักษณะใบ
ลักษณะอวบยาวใบจำนวน 3-5 ใบ รูปทรงกระบอกยาวสีเขียวเข้ม ปลายเรียวแหลมเส้นผ่านศูนย์กลางส่วนกว้างสุดประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 10-40 เซนติเมตร ใบของหนวดพราหมณ์ห้อยลู่ลงด้านบนเป็นร่องตามยาว
ขนาด
ลำต้นยาว 3-5 เซนติเมตร รากจำนวนมากออกที่โคนต้น
พฤติกรรม
ให้ดอกช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าดิบเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 350 - 1,500 เมตร
การกระจายพันธุ์
พบในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าดิบเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 350 - 1,500 เมตร
ที่มาของเรื่องและภาพ
เอื้องหนวดพราหมณ์ https://www.orchidtropical.com สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
เอื้องหนวดพราหมณ์ https://www.facebook.com/ruamtawancenter สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
เอื้องหนวดพราหมณ์ https://www.facebook.com/KenNeo2017 สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่