โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

มะกัก

ชื่อสามัญ
มะกัก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman
ชื่อวงศ์
ANACARDIACEAE
ชื่ออื่น ๆ
กอกกัก, หมักกัก, มะกอกป่า
สถานภาพ
พืชถิ่นเดียวของไทย
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
มะกักเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ มีช่องอากาศทั่วไป กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบประกอบ 2 ชั้น เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว แผ่นใบด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป
ลักษณะดอก
ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 4-6 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีขนประปราย กลีบดอก 4 กลีบ เรียงจรดกัน รูปรี ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนก้านชูอับเรณูกว้าง จานฐานดอกจักเป็นพูตื้น ๆ 10 พู รังไข่มี 5 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย 5 อัน
ลักษณะใบ
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว แผ่นใบด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ใบประกอบย่อยมี 3-5 คู่ คู่ล่างมักลดรูปเป็นใบเดี่ยว ใบย่อยมี 3-5 คู่ ใบปลายขนาดใหญ่กว่าใบด้านข้าง รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 2-8.5 เซนติเมตร ปลายแหลมยาวหรือยาวคล้ายหาง โคนกลม เบี้ยว แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน ก้านใบย่อยใบข้างสั้นมาก
ลักษณะผล
ผลผนังชั้นในแข็ง รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 4-4.5 เซนติเมตร สุกสีเหลือง ก้านหนา ผลสด กลมรี สีเหลืองอมเขียว มีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด
ขนาด
ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-25 เมตร
พฤติกรรม
ออกดอกเดือน เมษายน - พฤษภาคม ผลเดือน พฤษภาคม – กรกฏาคม
ถิ่นที่อยู่อาศัย
พบตามเขาหินปูนที่แห้งแล้งเตี้ย ป่าเบญจพรรณหรือป่าละเมาะผลัดใบ ความสูงไม่เกิน 300 เมตร
การกระจายพันธุ์
พบได้ในภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัดนครสวรรค์ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้
ที่มาของเรื่องและภาพ
ชุมชนคนรักษ์พันธุ์ไม้ https://www.facebook.com/groups/plantcommunity สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567
มะกัก http://www.rspg.or.th/plants_data/rare_plants สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่