โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

กิ้งกือมังกรสีชมพู

ชื่อสามัญ
กิ้งกือมังกรสีชมพู
ชื่อวิทยาศาสตร์
Desmoxytes purpurosea
ชื่อวงศ์
Paradoxosomatidae
ชื่ออื่น ๆ
Shocking pink dragon millipede
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
กิ้งกือมังกรสีชมพูเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยูในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Arthropoda) ไฟลัมย่อย ไมเรียโพดา (Myriapoda) ช ั้นไดโพลโพดา (Diplopoda) เช่นเดียวกับกิ้งกือธรรมดาทั่วไป ที่มีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ส่วนหัวมีตาอยู่ด้านข้าง เป็นสัตว์มีขามากที่สุดในบรรดาสัตว์บก ลักษณะขาเป็นข้อ มีหนวดสั้น มีปาก 2 ส่วน บนและล่าง เพื่อใช้เคี้ยวและกด ลำตัวยาว มีขาสองคู่ต่อหนึ่งวงปล้อง ผิวมันแข็งทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกัน ส่วนใหญ่เมื่อโตเต็มที่นับปล้องได้ ประมาณ 100-200 ปล้อง ขนาดลำตัวยาว 2 มิลลิเมตร ถึง 30 เซ็นติเมตร พบมีมากถึง 10,000 ชนิด (สปีชีส์) จุดเด่นของกิ้งกือมังกรสีชมพูมีสีชมพูสดใสแบบช็อคกิงพิงค์ (shocking pink) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ กิ้งกือมังกรสีชมพู มีปุ่มหนามและขนรอบตัว เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวประมาณ 7 ซม. มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้องลักษณะโครงสร้างหน้าตาคล้ายมังกรในเทพนิยาย ที่สำคัญยังมีระบบป้องกันตัว โดยสามารถขับสารพิษประเภทไซยาไนด์ออกมาจากต่อมขับสารพิษข้างลำตัว เพื่อป้องกันตนเองจากศัตรูธรรมชาติจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู นอกจากนี้ยังพบว่ามีพฤติกรรมที่ชอบออกหากินตอนกลางวัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการปรับตัวให้มีสีชมพูสดใส พบได้ในป่าที่มีความชุ่มชื้นสูงและอุดมสมบูรณ์
ขนาด
โตเต็มวัยมีลำตัวยาวประมาณ 7 ซม.
พฤติกรรม
มีพฤติกรรมที่ชอบออกหากินตอนกลางวัน
ถิ่นที่อยู่อาศัย
พบได้ในป่าที่มีความชุ่มชื้นสูงและอุดมสมบูรณ์
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่