โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

กระแตไต่ไม้

ชื่อสามัญ
กระแตไต่ไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์
Drynaria quercifolia
ชื่อวงศ์
Polypodiaceae
ชื่ออื่น ๆ
ใบหูช้าง, สไบนาง (กาญจนบุรี), กระปรอก (จันทบุรี), ฮำฮอก (อุบลราชธานี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์, นราธิวาส), หัวว่าว (ใต้, ประจวบคีรีขันธ์), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, ชลบุรี), เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี), กูดขาฮอก, เช้าวะนะ, พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กูดขาฮอก, กูดอ้อม, กูดไม้ (ภาคเหนือ), หว่าว (ปน), กาบหูช้าง, ใบหูช้าง (กาญจนบุรี), เดาน์กาโละ (มลายู ปัตตานี)
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
เป็นเฟินอิงอาศัยในสกุลกระแตไต่ไม้ (Drynaria) ต้นกระแตไต่ไม้ จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์นที่เลื้อยเกาะอยู่บนต้นไม้หรือตามก้อนโขดหิน ในที่ที่มีร่มเงาหรือแสงแดด หรือตามชายป่า ลำต้นจะทอดนอนยาวได้ถึง 1 เมตร ส่วนลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกได้แก่ ใบที่ไม่สร้างสปอร์ ใบจะประกบต้นตั้งเฉียงกับลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม ส่วนฐานใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีความกว้างประมาณ 20 เซนติเมตรและอาจยาวได้ถึง 32 เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ หุ้มอยู่บริเวณเหง้า ผิวของใบอ่อนมีขนเป็นรูปดาว ชนิดนี้ใบจะไม่มีก้าน และใบชนิดที่สองคือ ใบที่สร้างสปอร์ ชนิดนี้จะอยู่สูงกว่าใบที่ไม่สร้างสปอร์ และชี้ขึ้นด้านบน ลักษณะของแผ่นใบจะเป็นรูปขอบขนานหรือเป็นรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม ส่วนฐานใบเป็นรูปลิ่ม ใบมีความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร และอาจยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร ส่วนขอบใบมีลักษณะเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ (คล้ายกับใบสาเก) เป็นพู เรียงตัวกันแบบขนนก ใบมีสีเขียวหม่นเป็นมัน เนื้อใบเหนียว และมีก้านใบยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ที่โคนก้านใบจะมีเกล็ดสีน้ำตาลดำ กลุ่มอับสปอร์ลักษณะเป็นรูปกลมหรือเป็นรูปขอบขนาน เรียงเป็นสองแถวอยู่ระหว่างเส้นของใบย่อย แอนนูลัสประกอบไปด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว เรียงตัวในแนวตั้ง และไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ เหง้ามีลักษณะเป็นหัวกลม ยาว ปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้มและมีขนยาวสีน้ำตาลคล้ายกำมะหยี่ ปกคลุมอยู่ ส่วนเนื้อในมีสีขาวและเขียว ต้นกระแตไต่ไม้นี้จะกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเขตร้อน และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือสปอร์มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศมาเลเซีย ไทย อินเดีย ศรีลังกา พม่า จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ฟิจิ และออสเตรเลีย ไทย ซึ่งในบ้านเราสามารถพบกระแตไต่ไม้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ อาจจะพบขึ้นตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับความสูงต่ำ ๆ
ลักษณะใบ
ใบเป็นใบเดี่ยว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกได้แก่ ใบที่ไม่สร้างสปอร์ ใบจะประกบต้นตั้งเฉียงกับลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม ส่วนฐานใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีความกว้างประมาณ 20 เซนติเมตรและอาจยาวได้ถึง 32 เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ หุ้มอยู่บริเวณเหง้า ผิวของใบอ่อนมีขนเป็นรูปดาว ชนิดนี้ใบจะไม่มีก้าน และใบชนิดที่สองคือ ใบที่สร้างสปอร์ ชนิดนี้จะอยู่สูงกว่าใบที่ไม่สร้างสปอร์ และชี้ขึ้นด้านบน ลักษณะของแผ่นใบจะเป็นรูปขอบขนานหรือเป็นรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม ส่วนฐานใบเป็นรูปลิ่ม ใบมีความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร และอาจยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร ส่วนขอบใบมีลักษณะเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ (คล้ายกับใบสาเก) เป็นพู เรียงตัวกันแบบขนนก ใบมีสีเขียวหม่นเป็นมัน เนื้อใบเหนียว และมีก้านใบยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ที่โคนก้านใบจะมีเกล็ดสีน้ำตาลดำ กลุ่มอับสปอร์ลักษณะเป็นรูปกลมหรือเป็นรูปขอบขนาน เรียงเป็นสองแถวอยู่ระหว่างเส้นของใบย่อย แอนนูลัสประกอบไปด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว เรียงตัวในแนวตั้ง และไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์
ลักษณะผล
กลุ่มอับสปอร์ลักษณะเป็นรูปกลมหรือเป็นรูปขอบขนาน เรียงเป็นสองแถวอยู่ระหว่างเส้นของใบย่อย แอนนูลัสประกอบไปด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว เรียงตัวในแนวตั้ง และไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ /เหง้ามีลักษณะเป็นหัวกลม ยาว ปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้มและมีขนยาวสีน้ำตาลคล้ายกำมะหยี่ ปกคลุมอยู่ ส่วนเนื้อในมีสีขาวและเขียว
ขนาด
ลำต้นจะทอดนอนยาวได้ถึง 1 เมตร ส่วนลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร
พฤติกรรม
เป็นไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์นที่เลื้อยเกาะอยู่บนต้นไม้หรือตามก้อนโขดหิน ในที่ที่มีร่มเงาหรือแสงแดด หรือตามชายป่า
ถิ่นที่อยู่อาศัย
สามารถพบได้ตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ
การกระจายพันธุ์
กระจายพันธุ์อยู่ในประเทศมาเลเซีย ไทย อินเดีย ศรีลังกา พม่า จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ฟิจิ และออสเตรเลีย
ที่มาของเรื่องและภาพ
กระแตไต่ไม้ https://medthai.com สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
กระแตไต่ไม้ https://th.wikipedia.org/wiki สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่