โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

กระแตไต่หิน

ชื่อสามัญ
กระแตไต่หิน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Drynaria bonii Christ.
ชื่อวงศ์
POLYPODIACEAE
ชื่ออื่น ๆ
กระจ้อน, กระแตไต่ไม้, กระแตพุ่มไม้, กระปรอกเล็ก, ฮอกกาบลม
ข้อมูลการสำรวจ
พิกัด
จำนวน
หมายเหตุ
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียด
จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์นเลื้อยเกาะแน่นตามก้อนหิน โขดหิน หรือกิ่งไม้ เหง้ามีลักษณะแบน มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร มีเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นปกคลุมและมีขนสีน้ำตาลอยู่หนาแน่น ใบมี 2 ชนิด รูปร่างต่างกัน คือ ใบไม่สร้างสปอร์ หรือใบรังนก หรือใบประกบต้น หรือใบเกล็ด (nest-leaves) ซึ่งมีจำนวนมาก ออกเรียงสลับซ้อนกันปิดเหง้าไว้เกือบมิด ลักษณะเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4.5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เส้นกลางใบและเส้นใบเห็นได้ชัดเจน ใบอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนใบแก่เป็นสีน้ำตาล และอีกชนิดคือ ใบที่สร้างสปอร์ หรือใบแท้ (foliage-leaves) ซึ่งจะเป็นใบเดี่ยว ชี้ขึ้นข้างบนและอยู่สูงกว่าใบประกบต้น ใบด้านล่างส่วนที่ต่อกับก้านใบจะแผ่ออกเป็นปีก ขอบใบจะเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบเป็นแฉกหรือพูลึก ลักษณะของแฉกเรียงแบบขนนก ปลายพูแหลม ส่วนขอบพูหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบชนิดนี้จะมีขนาดกว้างประมาณ 20-40 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แต่ละแฉกเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก มีขนาดกว้างได้ถึง 3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร กลุ่มสปอร์จะอยู่ในอับสปอร์มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างกลม เรียงกระจายไม่เป็นระเบียบอยู่ระหว่างเส้นใบทางด้านหลังใบ แอนนูลัส ประกอบไปด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว เรียงตัวในแนวตั้ง ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ เหง้ามีลักษณะเป็นหัวกลม ยาว ปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้มและมีขนยาวสีน้ำตาลคล้ายกำมะหยี่ ปกคลุมอยู่ ส่วนเนื้อในมีสีขาวและเขียว
ลักษณะใบ
ใบมี 2 ชนิด รูปร่างต่างกัน คือ ใบไม่สร้างสปอร์ หรือใบรังนก หรือใบประกบต้น หรือใบเกล็ด (nest-leaves) ซึ่งมีจำนวนมาก ออกเรียงสลับซ้อนกันปิดเหง้าไว้เกือบมิด ลักษณะเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4.5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เส้นกลางใบและเส้นใบเห็นได้ชัดเจน ใบอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนใบแก่เป็นสีน้ำตาล และอีกชนิดคือ ใบที่สร้างสปอร์ หรือใบแท้ (foliage-leaves) ซึ่งจะเป็นใบเดี่ยว ชี้ขึ้นข้างบนและอยู่สูงกว่าใบประกบต้น ใบด้านล่างส่วนที่ต่อกับก้านใบจะแผ่ออกเป็นปีก ขอบใบจะเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบเป็นแฉกหรือพูลึก ลักษณะของแฉกเรียงแบบขนนก ปลายพูแหลม ส่วนขอบพูหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบชนิดนี้จะมีขนาดกว้างประมาณ 20-40 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แต่ละแฉกเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก มีขนาดกว้างได้ถึง 3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร
ลักษณะผล
กลุ่มสปอร์จะอยู่ในอับสปอร์มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างกลม เรียงกระจายไม่เป็นระเบียบอยู่ระหว่างเส้นใบทางด้านหลังใบ แอนนูลัส ประกอบไปด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว เรียงตัวในแนวตั้ง ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์
ขนาด
เหง้ามีลักษณะแบน มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร
พฤติกรรม
เฟิร์นเลื้อยเกาะแน่นตามก้อนหิน โขดหิน หรือกิ่งไม้
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ขึ้นบนหินหรือคาคบในป่าดิบแล้งและในป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร
การกระจายพันธุ์
มีเขตการกระจายพันธุ์ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลียเขตร้อน และพอลินีเซีย ในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งภาคตะวันตก
ที่มาของเรื่องและภาพ
กระแตไต่หิน https://medthai.com สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
กระแตไต่หิน https://botany.dnp.go.th สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
Loading...

กำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่